หากคุณเป็นสายดื่มหรือสายปาร์ตี้ วิธีทำให้สร่างเมาอาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้แอลกอฮอล์ในเลือดลดลง หากถูกเรียกตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ก็อาจถูกปรับและมีความผิดข้อหาเมาแล้วขับได้ เพื่อเป็นการเพิ่มความเข้มงวดและป้องกันการเมาแล้วขับ รัฐบาลจึงได้มีการอัปเดตค่าปรับเมาแล้วขับตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีจากเดิม 1 ปี และยังโดนปรับด้วย โดยจะปรับสูงสุดถึง 100,000 บาทจากเดิม 20,000 บาทเท่านั้น
อัปเดต ค่าปรับเมาแล้วขับพร้อมระดับแอลกอฮอล์ 2566
ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ซึ่งเป็นการอัปเดตค่าปรับเมาแล้วขับ 2566 ได้มีการเพิ่มโทษสำหรับผู้ที่ทำผิดซ้ำภายในระยะเวลา 2 ปีกรณี “เมาแล้วขับ” ดังนี้
- เมาแล้วขับ ครั้งที่ 1
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือถูกยกเลิกใบขับขี่
- เมาแล้วขับ ครั้งที่ 2 ภายในระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่วันกระทำผิดครั้งแรก
จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000-100,000 บาท โดยศาลจะลงโทษจำคุกและปรับด้วย อีกทั้งยังถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่
เมาแล้วขับมีโทษอะไรอีกบ้าง?
- เมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท และถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่
- เมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
จำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-120,000 บาท และถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่
- เมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต
จำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และถูกยกเลิกใบขับขี่ทันที
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดตามกฎหมาย
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไหร่โดนปรับ? จากเดิมหากผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะถือว่าเมาสุรา แต่ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ.2550 ออกความใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 ได้มีการอัปเดตปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดตามกฎหมายว่า
“หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเมาสุรา ยกเว้นผู้ขับขี่ดังต่อไปนี้หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าเมาสุราแล้ว”
- ผู้ขับขี่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
- ผู้ขับขี่ที่ถือใบขับขี่ชั่วคราว (ใบขับขี่แบบ 2 ปี)
- ผู้ขับขี่ที่มีใบขับขี่ประเภทอื่น ซึ่งใช้แทนกันไม่ได้
- ผู้ขับขี่ที่อยู่ระหว่างการพักใช้ใบขับขี่ หรือถูกยกเลิกใบขับขี่
ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรไม่ให้เมาจนขาดสติ?
การดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ นำไปสู่การบาดเจ็บ การสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่หากมีความจำเป็นจริง ๆ ควรดื่มอย่างพอดี และควรหาอะไรรับประทานรองท้องก่อนเสมอ เพราะหากท้องว่างจะทำให้ร่างกายดูดซึมแอลกอฮอล์ได้อย่างรวดเร็ว จิบน้ำบ้างระหว่างการดื่ม และหากเริ่มรู้สึกมึนเมา ให้หยุดดื่ม และออกไปสูดอากาศ รับลม เพื่อไม่ให้เมาจนขาดสติ แต่หากไม่อยากโดนค่าปรับเมาแล้วขับ ขอแนะนำให้เดินทางกลับด้วยรถสาธารณะ แทนการขับกลับเอง นอกจากนี้คุณสามารถหาซื้อเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ติดตัวไว้สักเครื่อง
ในกรณีที่คุณมั่นใจว่าสามารถขับรบกลับเองได้ มีสติครบถ้วน ดื่มไปนิดหน่อยและไม่อยากถูกจับข้อหาเมาแล้วขับ คุณสามารถใช้เครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ทดสอบตนเองก่อนสตาร์ท แต่วิธีนี้เป็นการทดสอบปลายทางเท่านั้น อย่างไรก็ดีหากมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่แนะนำให้ขับขี่รถในท้องถนน เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองและผู้อื่น
ทั้งเครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์เซ็นเซอร์ชนิดไฟฟ้าเคมีแบบยืนยันผล เซ็นเซอร์ชนิดไฟฟ้าเคมีแบบคัดกรองเบื้องต้น เครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจส่วนบุคคล เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกการใช้งานของคุณ สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน สามารถติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าหรือสั่งซื้อได้เลยที่ เบอร์โทรศัพท์ 02-862-0254 , 02-862-0959 และทาง E-Mail: customersupport@alco-tec.co.th